เมนู

ก็ในคำว่า สทฺโท นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดย่อมแผ่ไป
ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัททะ - เสียง, อธิบายว่า เสียงที่เปล่งว่า
ออก
คำว่า ปริโยคาหเณ ปญฺญา - ปัญญาในการกำหนด ความว่า
ปัญญาเป็นเครื่องเข้าถึง อธิบายว่า ปัญญาเป็นเครื่องรู้.
คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธญญาณํ - ญาณในโสตธาตุอันบริสุทธิ์
ความว่า ชื่อว่า โสตธาตุ เพราะอรรถว่าได้ยิน และเพราะอรรถว่า
มิใช่ชีวะ, และชื่อว่าโสตธาตุเพราะปัญญาทำกิจดุจโสตธาตุด้วยสามารถ
แห่งการทำกิจของโสตธาตุ, ชื่อว่า วิสุทธิ เพราะโสตธาตุนั้นหมดจด
แล้ว เพราะปราศจากอุปกิเลส, โสตธาตุนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า
โสตธาตุวิสุทธิ, ญาณคือความรู้ในโสตธาตุวิสุทธินั่นแหละ ชื่อว่า
โสตธาตุวิสุทธิญาณ.

52. อรรถกถาเจโตปริยญาณุทเทส


ว่าด้วย เจโตปริยญาณ


คำว่า ติณฺณํ จิตฺตานํ - แห่งจิต 3 ดวง ความว่า แห่งจิต
3 ดวง คือ โสมนัสสสหคตจิต 1, โทมนัสสสหคตจิต 1, อุเปกขา
สหคตจิต 1.